ปรับกลยุทธ์การตลาดด้วย Contextual Marketing อาวุธลับแห่งยุค

Contextual Marketing อาวุธลับในยุคนี้ที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

หากพูดถึงเรื่อง Privacy Value ที่เป็นผลจากการใช้ PDPA (Personal Data Protection Act)
ทำให้ Personal Data ย่อมกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของนักการตลาดทุกท่าน

ขอแนะนำการนำหลักการตลาดแบบ Contextual Marketing มาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับสถานะการณ์ปัจจุบัน
และสามารถหยิบใช้โอกาสจากเรื่องราวต่างๆที่อยู่รอบตัวของลูกค้าที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงแบบ Real-time มาเพิ่มโอกาสในการขายได้ครับ
สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราต้องรู้จักติดตามข่าวสารและข้อมูลให้ทันสมัยและเข้ากับเหตุการณ์นั้นเสมอ ๆ

ทำไม Contextual Marketing ถึงเป็นอาวุธลับของความสำเร็จ สรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้ครับ

1. เข้าใจความต้องการของลูกค้าจากเรื่องสำคัญ ๆ รอบตัวในเวลานั้น เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดี
เเละความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยการทำคอนเทนต์ได้อย่างชัดเจนตรงกลุ่มเป้าหมาย

2. สามารถกำหนดเป้าหมาย เเละช่วงเวลาในการทำแคมเปญทางการตลาดได้อย่างชัดเจน
จึงเป็นตัวช่วยดึงสินค้าให้กลับมาอยู่ในความสนใจของลูกค้าผ่านแคมเปญใหม่ ๆ ได้เสมอ

3. ลดต้นทุนทางการตลาด ใช้ต้นทุนถูกกว่าการทำการตลาดในรูปแบบอื่น ๆ
เนื่องจาก เน้นที่ความสนใจของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) และเข้าใจพฤติกรรมความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
เพื่อจัดทำแคมเปญที่เหมาะสมผ่านช่องทางที่ลูกค้านิยมใช้และสะดวกในการซื้อขาย

4. การสื่อสารที่จริงใจชัดเจนบวกกับการปรับแผนงานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสถานะการณ์โลกที่เปลี่ยนไป
จะตอบสนองความต้องการ เเละเเสดงถึงความเข้าอกเข้าใจของแบรนด์ต่อลูกค้าคนสำคัญ
ให้ข้อมูลวันนี้ที่ผมเขียนเป็นโอกาสที่เพิ่มมากขึ้นในการตัดสินใจและชนะใจลูกค้าของทุกท่านนะครับ

ตัวอย่างการทำ Contextual Marketing ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในฝั่งของ Digital Marketing ได้แก่

1. อีเมล ส่งแจ้งเตือนเมื่อลูกค้าหยิบสินค้าบางชิ้นใส่ไว้ในรถเข็นแต่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการชำระเงิน ดังนั้นเราจะส่งโปรโมชั่นแบบจำกัดเวลาเพื่อกระตุ้นการปิดการขาย

2. คำแนะนำต่างๆ เมื่อลูกค้ากำลังจะซื้อสินค้าบางอย่าง เช่น แชมพู ระบบจะแนะนำว่าคนส่วนใหญ่มักจะซื้อคู่กับ ทรีตเมนต์ผม
ลูกค้าจะเห็นและคิดต่อได้ว่า ทั้งสองอย่างใช้คู่กัน ไม่ต้องเสียเวลากดคำสั่งซื้อใหม่อีกครั้ง

3. รีวิว เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หากมีรีวิวที่ได้คะแนนที่ดี กระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
และร้านค้าออนไลน์นั้นดูน่าเชื่อถือ มีการซื้อขายจริงเกิดขึ้นให้ลูกค้าได้มั่นใจทั้งสินค้าและบริการ

4. อีเมลกระตุ้น แนะนำสินค้าใหม่ สำหรับลูกค้าเก่าที่เคยใช้บริการ

5. อีเมล อีกครั้ง เสนอโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อหาฐาน Loyalty Program และกระตุ้นการกลับมาซื้อซ้ำ รักษาฐานลูกค้าไว้นั่นเอง

ปัจจุบัน บริษัท เวย์เมคเกอร์ ให้คำปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์และวางแผนกลยุทธให้กับสินค้าที่เน้นความสะดวกและรวดเร็วในการใช้บริการในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นในปัจจุบัน

Author